Pages

Tuesday, September 8, 2020

“เรียน เล่น รู้ ตามรอยพ่อ” นำทางนักเรียนตาบอดสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน - Sanook

ikanghus.blogspot.com

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง รวมถึง โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี แต่ด้วยการลงมือปฏิบัติตามศาสตร์พระราชา สร้าง “โคก หนอง นา โมเดล” บนพื้นที่ของโรงเรียน จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่สำหรับการ “เรียน เล่น รู้” เพื่อพัฒนาความรู้และเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนตาบอดกว่า 100 ชีวิต แต่พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นยังเป็นแหล่งวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และบางส่วนยังได้รับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับโรงเรียน  ทำให้ทุกคนสามารถสามารถพึ่งพาตนเองและฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้

เปลี่ยน “พื้นที่รกร้าง” เป็น “พื้นที่เรียน เล่น รู้”

จากการร่วมแรงร่วมใจของ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ได้เข้ามาปรับพื้นที่รกร้างในบริเวณโรงเรียนขนาด 2 ไร่ให้กลายเป็น “พื้นที่เรียน เล่น รู้ ตามรอยพ่อ” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัส และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวที่หลากหลายกว่า 30 ชนิด เช่น ผักกาด คะน้า กะเพรา พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว และอื่นๆ ที่ไม่เพียงสามารถนำมาใช้สำหรับการปรุงอาหารเพื่อเลี้ยงปากท้องนักเรียนทุกคนและช่วยลดรายจ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบได้แล้ว ยังสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้เสริมสำหรับการดูแลนักเรียนทั้งโรงเรียนได้อีกด้วย

วิชัย สานคล่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี กล่าวว่า “โรงเรียนของเราตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ได้รับการบริจาคโดยผู้มีจิตศรัทธาสำหรับก่อตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับนักเรียนตาบอดและนักเรียนตาบอดที่พิการซ้ำซ้อน ซึ่งก็ได้มีการแบ่งพื้นที่ไปสร้างเป็นอาคารเรียนและหอพักสำหรับนักเรียนทุกคน สำหรับพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนตรงนี้เคยเป็นป่ารกร้างมาก่อน จนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เข้ามาปรับพื้นที่ตรงนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเรียนของเราได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้และเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตที่อยู่นอกห้องเรียน และได้ทดลองปลูกพืชผักสวนครัวด้วยตัวของพวกเขาเองภายใต้ความดูแลของครูที่ได้เข้ารับการอบรม ‘ศาสตร์พระราชา’ จากเครือข่ายมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ซึ่งพืชผลที่ได้จากสวนแห่งนี้ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของนักเรียนทุกคน นั่นก็เพราะว่าพวกเขาได้ลงมือปลูกและดูแลด้วยสองมือของพวกเขาเองจนงอกงามไปเป็นพืชผักสำหรับทำอาหารให้พวกเขาได้รับประทาน หรือแม้แต่สามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมสำหรับลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและการศึกษาของตัวพวกเขาเองในที่สุด”

เพาะปลูกเมล็ดพันธุ์สู่การยืนหยัดด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

แม้ว่าโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี จะสามารถพึ่งพาตนเองได้จากการใช้พืชผักสวนครัวที่นักเรียนและครูช่วยกันดูแล สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติได้อย่างราบรื่นมาโดยตลอด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นถือเป็นความท้าทายและบททดสอบครั้งใหญ่สำหรับทุกคนในโรงเรียนแห่งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และการร่วมกิจกรรมของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาหลายครั้งของ ครูสมาร์ท-สุภัสชญา จังโกฎิ จึงทำให้เขานำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับมาจากการอบรมและลงมือปฏิบัติจริงมาร่วมระดมความคิดกับบรรดาครูในโรงเรียนเพื่อหารายได้เสริมนอกเหนือจากการขายพืชผัก ด้วยการแปรรูปพืชผักในสวนเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำพริกหลากหลายชนิด เช่น น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกนรก น้ำพริกปลาย่าง และน้ำพริกกากหมู รวมถึงนำเงินที่ได้จากการขายบางส่วนไปซื้อไข่เป็ดมาทำ ไข่เค็มดินสอพอง ของขึ้นชื่อประจำจังหวัดลพบุรีได้อีกด้วย นอกเหนือจากนี้ ภายในสวนดังกล่าวยังมีการแบ่งพื้นที่สำหรับทำโรงเลี้ยงไส้เดือนเอาไว้สำหรับผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ก่อให้เกิดรายได้ช่วยหล่อเลี้ยงโรงเรียนในวิกฤตครั้งนี้

“จากที่ผมได้เข้าไปรับการอบรมเพื่อศึกษาศาสตร์พระราชาและนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ลงมือปฏิบัติจริงเป็นเวลาหลายปี ผมเชื่อมั่นว่าหลักการนี้สามารถทำให้เราสามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้จริง ไม่ว่าในสถานการณ์ปกติหรือเมื่อมีวิกฤตต่างๆ ถาโถมเข้ามาก็ตาม สิ่งที่ผมได้เรียนรู้มานั้นเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ ไม่เว้นแม้แต่นักเรียนของผมที่มีทั้งนักเรียนตาบอดและนักเรียนตาบอดพิการซ้ำซ้อน จากที่ผมได้ดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด นักเรียนตาบอดมีศักยภาพที่แฝงอยู่ มีความสามารถในการเรียนรู้และลงมือทำบางอย่างได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง เช่น นักเรียนบางคนสามารถช่วยเตรียมดินได้ นักเรียนบางคนสามารถช่วยรดน้ำในแปลงผักได้ ขอเพียงแค่ใช้เวลาและความใส่ใจกับพวกเขาอย่างเพียงพอ โดยทักษะที่นักเรียนได้จากการดูแลสวนแห่งนี้ อาจนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวหลังจากที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ได้” สุภัสชญากล่าว

ด้านน้องปิ๊น-มัลลิกา จันทร์งาม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี กล่าวถึงการทำกิจกรรมในพื้นที่ ‘เรียน เล่น รู้ ตามรอยพ่อ’ ว่า“การปลูกผักและดูแลสวนแห่งนี้เป็นกิจกรรมที่ตัวหนูและเพื่อนๆ ในห้องเรียนชื่นชอบมากเป็นพิเศษ เพราะพวกหนูได้เรียนรู้และลงมือทำด้วยตัวเองโดยมีคุณครูเป็นผู้แบ่งหน้าที่ในการดูแลสวนแห่งนี้ พร้อมทั้งแนะนำและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ หนูรู้สึกดีใจมากๆ ที่ผักที่พวกเราแต่ละคนช่วยกันปลูกนั้นสามารถนำไปทำอาหารให้กับทุกคนในโรงเรียนของเรา ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีอีกด้วยค่ะ”

Let's block ads! (Why?)



"ซึ่งกันและกัน" - Google News
September 08, 2020 at 10:27PM
https://ift.tt/3i9wPHO

“เรียน เล่น รู้ ตามรอยพ่อ” นำทางนักเรียนตาบอดสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน - Sanook
"ซึ่งกันและกัน" - Google News
https://ift.tt/2XRydWC

No comments:

Post a Comment