Pages

Friday, September 25, 2020

ส่องเกมร้อนวิกฤติเรือเหล็ก - เดลีนีวส์

ikanghus.blogspot.com

เรียกว่าไม่สนคำขู่ม็อบแบบเบิ้มๆ ล้อมรัฐสภาวันลงมติพลิกเกมตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ยื้อเวลาออกไปอีก 30 วัน ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศปลุกคนทั้งประเทศชุมนุมใหญ่เดือนตุลาคมนี้ ทันที “ทีมการเมืองเดลินิวส์” จึงถือโอกาสสนทนากับ “ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า” ประเมินสถานการณ์ร้อนๆ

โดย “ศ.วุฒิสาร” เปิดฉากกล่าวว่า  ไม่คิดว่าผลจะออกมาแบบนี้ ไม่มีใครคิด ส่วนใหญ่คิดว่าน่า จะมีการลงมติเลย ข้อเสนอนี้น่าจะมาทีหลังและกลายเป็นเหมือนกับว่าพลิกเกม ซึ่งจุดเปลี่ยนคิดว่าเป็นเพราะไม่มีทางออก  ถ้าจะโหวตหักวันนี้เลยก็จะมีผลตามมา คือ ฝ่ายที่ไม่พอใจก็อาจจะไม่พอใจ และถ้าโหวตผ่านก็ยังไม่มั่นใจว่า จะควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ในแง่ของการเลือกส.ส.ร.

ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนการพิจารณาไปอีก 30 วัน หรือต้องไปเปิดสมัยการประชุมครั้งหน้า เพราะถ้าเปิดโหวตรับหลักการแล้วถ้าตกก็ คือ ไปต่อไม่ได้ แล้วข้อเสนอของทางไอลอว์ก็จะตกไปด้วย และส่วนตัวคิดว่าคงไม่ผ่าน เพราะเงื่อนไขการอภิปรายหลักๆ แม้ว่าฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายค้าน จะเสนอตรงกันเรื่องตั้ง ส.ส.ร. แต่ประเด็น คือ เสนอไม่ให้แก้ หมวด 1 หมวด 2 ซึ่งถ้าไม่แก้หมวด 1 หมวด 2 นี้ ส.ว. อาจจะยอม

เมื่อไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม คาดว่าจากนี้จะเป็นอย่างไร

ต้องยอมรับว่าเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่เมื่อผลออกมาเป็นอย่างนี้ การเรียกร้องก็จะมีต่อเนื่องไป เชื่อว่าผู้เรียกร้องก็น่าจะเพิ่มจำนวนขึ้น และเพิ่มการกดดันมากขึ้น ได้แต่หวังแต่ว่าจะไม่ยกระดับจนเกินไป และไม่ทำให้เกิดความรุนแรง เพราะวันนี้อย่างน้อยที่สุดเวทีการแก้รัฐธรรมนูญมันถูกวางไว้ที่สภา มีเวลา 1 เดือนที่จะมาประนีประนอมในความเห็นที่ต่างกันอยู่ ถ้ามองในแง่ดีว่ามีการประนีประนอมกันได้ พูดคุยกัน ว่าอะไรที่เป็นจุดที่เห็นตรงกัน อะไรที่ยังรับกันไม่ได้ และมีข้อตกลงที่ยุติได้ก็มีความเป็นไปได้ที่ ส.ว.จะออกมาโหวตให้ แต่ถ้าไม่มีการประนีประนอม หักวันนี้ก็คือหักเลย  ดังนั้นยังพอมีโอกาส แต่ทุกคนต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และทำอย่างจริงจัง  

คิดว่าทั้ง ส.ส.-ส.ว. เห็นตรงกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว เพียงแต่มีรายละเอียดว่าจะแก้ไปประเด็นไหน จะแก้รายมาตรา หรือจะแก้แบบยกใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งถ้าแก้รายมาตราคิดว่าหลายเรื่อง แม้แต่เรื่องที่ไม่ให้ ส.ว. มีสิทธิเลือกนายก มาตรา 272 ส.ว.ก็อาจจะยอมก็ได้ เพราะจะช่วยอธิบายว่าเหตุการณ์เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ

ทั้งนี้การแก้ไขมาตราดังกล่าวจะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่านายกฯ จะยุบสภา หรือจะต้องมีการเลือกนายกฯ ใหม่ อะไรก็ตามมันมีกติกาที่เปลี่ยนไป แต่ถ้ายังไม่แก้ไข กติกาจะยังคงเดิม นายกฯ ก็จะยังเป็นกลุ่มคนกลุ่มเดิมที่เคยถูกเสนอชื่อไว้ ซึ่งมีสัก 4-5 คน จะยุบสภาแล้วเลือกตั้งก็เป็นแบบเดิมอีก การนับคะแนนก็จะเป็นปัญหาแบบเดิม เพราะปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข

ส่วนตัวคิดว่าการแก้รายมาตราเพื่อทำให้ระบบที่เป็นปัญหา ที่ทำให้คนรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมได้รับการแก้ไขเสียก่อน และปล่อยให้กิจกรรมทางการเมืองเดินไป ในอีก 2 ปี ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่ภายใต้กติกาใหม่ที่คนรู้สึกว่าเป็นธรรม ใครแพ้ ใครชนะก็เป็นเรื่องทางการเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดการประนีประนอมมากกว่า และนี่คือการแก้ปัญหาทางการเมือง

แต่ถ้ากลุ่มอยากได้ส.ส.ร. ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทั้งหมด พอไปถึงขั้นของการออกแบบจริง ก็ต้องกลับไปคิดว่าส.ส.ร. จะมาอย่างไร จะใช้เวลาเท่าไหร่ กระบวนการทำงานจะเป็นอย่างไร ต้องไปพูดถึงกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอีก เพราะส.ส.ร.200 กว่าคน คงไม่สามารถช่วยกันร่างฯ ได้ ต้องมีกรรมาธิการอีกชุดหนึ่งมาช่วยร่าง ก็ต้องมีกระบวนการคิดออกแบบ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้ถูกออกแบบที่ชัดเจน และต้องผ่านหลายขั้นตอน สำคัญเมื่อการจะแก้มาตรา 256 ยังไงก็ต้องไปทำประชามติเพราะรัฐธรรมนูญบังคับเอาไว้ ฉะนั้นกระบวนการไม่เร็ว  

ฝ่ายค้านไม่ร่วมเป็นกรรมาธิการศึกษาฯ จะมีปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับหรือไม่
อาจจะมีปัญหาเรื่องความสมบูรณ์ และเท่าที่ฟังจากนายชวน หลีกภัย ประธานสภาให้สัมภาษณ์ว่า ไม่สามารถให้โควตาพรรคอื่นๆ ได้ก็แปลว่ากรรมาธิการจะต้องมีเท่านั้น

@กลุ่มผู้ชุมนุมปลุกประชาชนร่วมชุมนุมใหญ่เดือนตุลาฯ ขู่หากจับกุมผู้ชุมนุมก็พร้อมบุกไปถึงคุก ถึงศาล
วันนี้อาจจะเป็นจังหวะที่รู้สึกผิดหวังกัน ผมว่าเมื่อสติกลับมาคิดว่าทุกคนจะค่อยๆ แก้ปัญหา ส่วนที่มีการนัดหมายของกลุ่มชุมนุมเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ประกาศเชิญชวนหยุดงานทั้งประเทศในวันที่ 14 ต.ค.ซึ่งมีคนมองว่า เป็นการเตรียมเอาไว้ หากผลโหวตไม่เป็นไปตามที่เรียกร้องนั้น ซึ่งผมไม่มั่นใจว่า เรื่องนี้จะทำได้ทั้งหมด เพราะวันนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย การประกาศเช่นนั้นก็คงเป็นยุทธศาสตร์ของการเรียกร้อง

“การยืดเวลาออกไปก็เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ฝ่ายที่เรียกร้องอยากแก้รัฐธรรมนูญนั้นมีเหตุผลสนับสนุนที่จะทำให้คนออกมาชุมนุมมากขึ้น คนมีความชอบธรรมที่จะออกมาชุมนุมมากขึ้น ตราบใดที่ไม่มีความรุนแรง ไม่ผิดกฎหมายก็สามารถทำได้” 

สิ่งสำคัญ คือ เราไม่อยากเห็นมวลชน 2 ขั้ว ออกมาแสดงความเห็นที่แตกต่างในเวลาเดียวกัน เพราะจะกลายเป็นการเผชิญหน้ากัน คนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตามข้อมูลข่าวสารที่เขาได้รับ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับฝ่ายที่เชิญชวนให้มานั้นใช้เหตุผลอะไรในการเชิญชวนให้มา อย่างไรก็ตามทุกคนมีสิทธิ มีเสรีภาพตราบใดที่ไม่ไปละเมิดกฎหมาย ตราบใดที่ไม่มีความรุนแรง ไม่เผชิญหน้า หลีกเลี่ยงความรุนแรง เคารพความเห็นต่างกัน

@ ทางออกเรื่องนี้ควรเป็นทิศทางไหนเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
ให้ทุกคนตั้งใจว่าเราอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง และอยากเห็นอะไรที่มันดีขึ้น อยากเห็นอนาคตที่ดี แต่สิ่งสำคัญวันนี้ คือ การที่เคารพในเหตุผลซึ่งกันและกัน อย่ามองว่า คนที่เห็นต่างจากเรา คือ คนไม่ถูกต้อง นี่เป็นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยในสังคมประชาธิปไตยซึ่งมีสิทธิที่จะมีคนเห็นต่างได้ ความสําคัญของประชาธิปไตยคือ การเคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน และหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่ให้เกิดความรุนแรง สิ่งนี้ คือ หัวใจสำคัญมาก เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยคือเรื่องของความอดทนอดทนต่อความเห็นที่แตกต่างกัน และรับฟังใช้เหตุใช้ผลในการพูดจากัน.

 

Let's block ads! (Why?)



"ซึ่งกันและกัน" - Google News
September 26, 2020 at 06:56AM
https://ift.tt/2G49wkC

ส่องเกมร้อนวิกฤติเรือเหล็ก - เดลีนีวส์
"ซึ่งกันและกัน" - Google News
https://ift.tt/2XRydWC

No comments:

Post a Comment