Pages

Saturday, September 26, 2020

3ทศวรรษแห่งการรวมชาติ ประวัติศาสตร์-วิสัยทัศน์ 'เยอรมนี' (1) - เดลีนีวส์

ikanghus.blogspot.com
เดลินิวส์ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ เกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นทางสู่การรวมชาติ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และนโยบายต่างประเทศของเยอรมนี โดยเฉพาะในประเด็นเยอรมนีกับยุโรป และเยอรมนีกับอินโด-แปซิฟิก โดยบทสัมภาษณ์จะแบ่งเป็น 2 ตอน เริ่มจากตอนแรกเกี่ยวกับการรวมชาติ

ปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ 30 ปี แห่งการรวมชาติของเยอรมนี อยากให้ท่านช่วยบอกเล่าช่วงเวลาด่อนการรวมชาติโดยสังเขป และชาวเยอรมันมองเรื่องนี้ย้อนกลับไปอย่างไร โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ซึ่งเกิดไม่ทัน

ประเด็นเกี่ยวกับ “การรวมชาติ” มีความสำคัญอย่างมากสำหรับชาวเยอรมัน หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อปี 2488 เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน แต่อันที่จริงสามารถกล่าวได้ว่า “โลกถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน” เยอรมนีถือเป็นสมรภูมิแนวหน้าของ “สงครามเย็น” เยอรมนีตะวันตกอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ( นาโต ) ส่วนเยอรมนีตะวันออกอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังจากองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ที่สำคัญคือทั้งสองฝ่ายต่างครอบครองอาวุธนิวเคลียร์

ช่วงเวลาที่เยอรมนีต้องแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเทศเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ประมาณช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ผมเป็นทหารเกณฑ์ ประจำการอยู่ใกล้กับกำแพงเบอร์ลิน บรรยากาศบริเวณนั้นมีแต่ความหวาดหวั่นซึ่งกันและกัน มองไปอีกฝั่งหนึ่งเห็นทหารเป็นพันนาย และสถานการณ์ตลอดแนวกำแพงเบอร์ลินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความหวาดกลัว

นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย


ประชาชนในเยอรมนีมีเสรีภาพน้อยกว่า จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดประชาชนในฝั่งตะวันออกจึงต้องการหลบหนีมายังฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตาม น้อยคนมากที่สามารถข้ามกำแพงมาได้ เวลาล่วงเลยไปจนถึงวันที่เยอรมนีรวมชาติกันอย่างเป็นทางการ ผ่านกระบวนการโดยสันติ ไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อเพราะทหารของทั้งสองฝ่ายไม่ได้ยิงกระสุนปืนใส่กันเลยแม้แต่นัดเดียว ในมุมมองของผมถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เป็นปาฏิหาริย์ที่เป็นจริง เกิดขึ้นได้จาก 3 ปัจจัย

ประการแรกคือ ความกล้าหาญ จากการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ในเยอรมนีตะวันออก และปรเทศยุโรปตะวันออกอื่น ๆ ประการที่สอง ความประนีประนอม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกเจรจาร่วมกันหลายครั้ง เช่นศาสนจักรที่เป็นหนึ่งในหลายองค์กร ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างรัฐบาลกับผู้ประท้วง โดยตั้งอยู่บนหลักการว่า “ทุกคนคือชาวเยอรมัน การเสียเลือดเสียเนื้อเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น” ประการที่สามคือ ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย

แล้วคนรุ่นใหม่ซึ่งเกิดหลังจากช่วงเวลานั้นจะมีความซาบซึ้งกับช่วงเวลาของการรวมชาติมากแค่ไหน โดยส่วนตัวผมไม่คาดหวังว่าเขาจะมีความรู้สึกร่วมกับประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งก็เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตของประชาชนในทั้งสองฝั่งของกำแพงมีพื้นฐานที่แตกต่าง และการอยู่คนละฝั่งของกำแพงเป็นเวลานานหลายทศวรรษ คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่จึงจะสามารถปรับตัวได้อย่างแท้จริง จนถึงตอนนี้รัฐบาลยังคงทำงานเพื่อบูรณาการคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ที่พื้นฐานหลายเรื่องยังคงแตกต่าง แต่เหนือสิ่งอื่นใด เยอรมนีมีความภาคภูมิใจที่การรวมชาติเกิดขึ้นโดยสันติ ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้รับการยอมรับจากประเทศเพื่อนบ้าน

จนถึงตอนนี้ประชาชนฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกยังมี “ความรู้สึกเบื้องลึก”ที่แปลกแยกต่อกันอยู่หรือไม่

ผมมองว่าไม่น่าเป็นความแปลกแยก แต่ผู้คนของทั้งสองฝั่งอาศัยอยู่ท่ามกลางสภาพสังคม “ที่แตกต่างกัน” มาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ ยกตัวอย่างประชาชนในฝั่งตะวันออก “ทุกคนมีงานทำ” แต่ปริมาณงานในทางปฏิบัติ “ไม่ได้มากขนาดนั้น” เพราะกิจการทั้งหมดเป็นของรัฐ เพื่อนคนหนึ่งของผมที่มาจากฝั่งตะวันออกเคยกล่าวแบบตลกร้ายว่า “เราแกล้งทำงาน ส่วนเบื้องบนก็แกล้งจ่ายเงินให้เรา” แต่โดยรวมถือว่าชีวิต “มีความปลอดภัย”

ขณะที่บรรยากาศในฝั่งตะวันตกนั้น ถ้าบริษัทมีผลประกอบการไม่ดี แน่นอนนายจ้างก็ปลดคุณออก มันเป็นเรื่องของความมั่นคงทางสังคม จริงอยู่ประชาชนในฝั่งตะวันออกมีเสรีภาพน้อยกว่า แต่ตราบใดที่คุณปฏิบัติตัวตามกฎ ชีวิตของคุณไม่มีทางเจอกับ “ปัญหา” อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว แน่นอนการปรับตัวเข้าหากันเป็นเรื่องสำคัญ ทว่าการคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีกรุ่นหนึ่ง กว่าทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทางอย่างแท้จริง

เรื่องแบบนี้เป็นความซับซ้อนทางความรู้สึก การเคลื่อนย้ายของประชาชนเกิดขึ้นในระดับสูงหลังการรวมชาติ โดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออกมายังฝั่งตะวันออก แต่ยังมีทั้งเมืองที่แทบทุกคนย้ายออก และบางเมืองที่แทบไม่มีการโยกย้ายถิ่นฐาน ปัจจุบันการอยู่ร่วมกันของประชาชนมีความกลมกลืนมากกว่าในอดีต สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่น่ามีปัญหาเท่ากับคนรุ่นเก่า

แม้ปีนี้ครบรอบ 30 ปีแห่งการรวมชาติ แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจัดงานเฉลิมฉลองขนาดใหญ่ได้ ทั้งที่เยอรมนีและประเทศไทย เนื่องจากวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ดี ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้การจัดงานสามารถเกิดขึ้นได้ในปีหน้า.

-------------------------------------------------

ภัทราพร ไพบูลย์ศิลป

เครดิตภาพ : สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย และ GETTY IMAGES
 

Let's block ads! (Why?)



"ซึ่งกันและกัน" - Google News
September 27, 2020 at 09:27AM
https://ift.tt/3kQClzP

3ทศวรรษแห่งการรวมชาติ ประวัติศาสตร์-วิสัยทัศน์ 'เยอรมนี' (1) - เดลีนีวส์
"ซึ่งกันและกัน" - Google News
https://ift.tt/2XRydWC

No comments:

Post a Comment